องค์จำกัดสิทธิ นักเรียนผู้ขอเข้าสอบบาลี |
๑. ผู้สมัครขอเข้าสอบความรู้บาลีประโยค ๑-๒ ในบัญชี ศ. ๒ ต้องแจ้งประโยคนักธรรมด้วย ถ้ากำลังสอบนักธรรมชั้นตรี ให้ลงไว้ในช่องหมายเหตุว่า
กำลังสอบ น.ธ. ตรี
๒. ผู้สมัครขอเข้าสอบความรู้บาลีประโยค ป.ธ. ๓ ให้ลงประโยคเดิม คือ ป. ๑-๒ และประโยคนักธรรมด้วย เพราะยังไม่ได้ประกาศยกเลิก
๓. ผู้สมัครขอเข้าสอบความรู้บาลีประโยค ป.ธ. ๔ ให้ลงประโยคเดิมคือ ป.ธ. ๓ และประโยคนักธรรมชั้นโท หรือเอกด้วย ถ้ากำลังสอบนักธรรมชั้นโทให้ลงในช่องหมายเหตุว่า กำลังสอบ น.ธ. โท
๔. ถ้าผู้สมัครขอเข้าสอบความรู้บาลีประโยค ป.ธ. ๗ ต้องลงประโยคเดิมคือ ป.ธ. ๖ และประโยคนักธรรมชั้นเอกด้วย ถ้ากำลังสอบนักธรรมชั้นเอกให้ลงในช่องหมายเหตุว่า กำลังสอบ น.ธ. เอก
๕. สำหรับที่ลงหมายเหตุไว้ว่า กำลังสอบ น.ธ. ตรี, โท, เอก ตามข้อ ๑, ๓, ๔ นั้น เมื่อทราบผลการสอบธรรมแล้ว ให้เจ้าสำนักเรียนหรือเจ้าสำนักเรียน
คณะจังหวัดแล้วแต่กรณี รีบแจ้งผลการสอบธรรมให้แม่กองบาลีสนามหลวงทราบโดยด่วน มิฉะนั้น แม้สอบบาลีได้ก็เป็นอันหมดสิทธิในการสอบได้นั้น
๖. ผู้สมัครขอเข้าสอบความรู้บาลีประโยค ป.ธ. ๕, ๖, ๘, ๙ ให้ลงแต่ประโยคเดิมเท่านั้น ไม่ต้องลงประโยคนักธรรม เพราะเปรียญแบ่งเป็น ๓ ชั้น
คือ :-
๑) เปรียญตรี คือ ประโยค ป.ธ. ๓ ผู้ขอเข้าสอบต้องสอบนักธรรม ชั้นตรีได้จึงมีสิทธิสอบ แม้ประโยค ๑-๒ ก็เช่นเดียวกัน
๒) เปรียญโท คือ ประโยค ป.ธ. ๔, ๕, ๖ ต้องสอบนักธรรมชั้นโทได้ จึงมีสิทธิสอบ
๓) เปรียญเอก คือ ประโยค ป.ธ. ๗, ๘, ๙ ต้องสอบนักธรรมชั้นเอกได้ จึงมีสิทธิสอบ
ฉะนั้น ผู้เข้าสอบประโยค ป.ธ. ๕, ๖ ไม่ต้องลงประโยคนักธรรม เพราะสอบนักธรรมชั้นโทได้แล้ว แม้ประโยค ป.ธ. ๘, ๙ ก็เช่นเดียวกัน เพราะสอบ
นักธรรมชั้นเอกได้แล้ว
|